...การเรียนรู้และการสื่อความหมาย....
เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาด้านการเรียนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆ แก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งบุคคลหรือกลุ่มคน ดังกล่าวมีจิตใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด มีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอน
ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์ คือจะต้องอาศัยทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้การสื่อสารรวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
...ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลเนื่องจากประสบการณ์หรือการกระทำที่ย้ำบ่อยๆ
องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. แรงขับ (Drive)
2. สิ่งเร้า (Stimulus)
3. การตอบสนอง (Response)
4. การเสริมแรง (Reinforcement)
1. แรงขับ (Drive) คือ ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของแต่ละบุคคลซึ่งแรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้กิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่ชักนำไปสู่การเรียนรู้
2. สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆซึ่งเป็นตัวที่ทำให้บุคลแสดงการตอบสนองออกมา
3. การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ
...จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในแนวคิดของบลูม และคณะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้านดังนี้
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความจำความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผล
2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ทัศนคติ และค่านิยม
3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ การเคลื่อนไหว การมีทักษะและความชำนาญ
...ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในการเรียนรู้ของคนเรานั้นจะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ
1. ประสบการณ์ (Experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทสัมผัสที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทสัมผัสรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะทำให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ
2. ความเข้าใจ (Understanding) ก็คือการตีความหมายหรือการสร้างมโนมติ (Concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้ก่อให้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล
3. ความนึกคิด (Thinking) ความนึกคิดถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้
ตัวอย่างนักจิตวิทยาที่มีความโดดเด่นทางด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ เช่น Bloom, Mayer, Bruner, Tylor และ Gagne
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น